จิตวิทยาการเรียนการสอน
ความหมาย
“จิตวิทยา”เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต
โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย
สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก
แนวทางในการศึกษา
ศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลอง นำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียนค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษา ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียน
จิตวิทยากับการเรียนการสอน
จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน
พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน
1.
ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
2.
หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย
ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
3.
ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
4.
การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการ
แก้ปัญหาการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
ประการแรก มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน
ประการที่สอง นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
หลักการสำคัญ
1. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2. มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3. มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4. มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
ครู หมายถึง ผู้สอน
มาจากภาษาบาลีว่า “ครุ”
ภาษาสันสกฤตว่า “คุรุ” แปลว่า หนัก
สูงใหญ่
- ครูต้องรับภารหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบ
- ครูต้องมีความหนักแน่น
สุขุม ไม่วู่วาม ทั้งความคิดและการกระทำ
บทบาทและความสำคัญของครูในปัจจุบัน
ธีรศักดิ์ (2542) ได้กล่าวถึง 4 ประเด็น
ดังนี้
-
บทบาทและความสำคัญต่อเยาวชน
-
บทบาทและความสำคัญของครูในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
-
บทบาทและความสำคัญของครูในการรักษาชาติ
-
บทบาทและความสำคัญของครูในเยียวยาสังคม
รูปแบบของครู (Models of
Teachers)
Fenstermacher และ Soltis
(1992)ได้กล่าวถึงรูปแบบและบทบาทของครู เป็น 3 ประเภท
1.
The Executive Model ทำหน้าที่คล้ายบริหาร
2.
The Therapist Model มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างใกล้ชิด
3.
The Liberationist Model ครูที่ให้อิสระผู้เรียนในการเรียนรู้
Parsons
and others (2001) กล่าวว่าครูควรมีหลายบทบาทตามความเหมาะสมของสภาพการณ์ มิใช่มีความรู้หรือเชี่ยวชาญเฉพาะเนื้อหา ดังนั้นครูอาจมีบทบาท ดังนี้
-
รับผิดชอบการวางแผนการสอนและวัดผล
-
มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนหรือให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
-
ทำหน้าที่ผู้จัดการ หรือบริหารห้องเรียนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้
-
ให้คำปรึกษา รับฟังความคิดเห็นแก่ผู้เรียน
บทบาทดังกล่าวนี้มีความสอดคล้องกับแนวคิดของWoolfok และ Nicalich (1980) ที่กล่าวไว้หลายประเด็นและมีคลอบคลุม ดังนี้
-
เป็นผู้ชำนาญการสอน เป็นผู้ที่กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ
-
เป็นผู้จัดการ เป็นผู้นำ
-
เป็นผู้ให้คำปรึกษา
-
เป็นวิศวกรสังคม
-
เป็นตัวแบบ
หลักการที่สำคัญสำหรับครู
Mamchak
and Mamchak (1981) ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนที่เป็นรูปธรรม
เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างครูและนักเรียน
การสร้างบรรยากาศในห้องเรียน
-
ไม่รื้อฟื้นปัญหาที่เคยเกิดขึ้น
-
ให้ความยุติธรรมแก่เด็ก
อย่างเท่าเทียมกัน
-
ตั้งเป้าหมายที่นักเรียนสามารถทำได้
-
ครูควรบอกถึงข้อจำกัดของตน
-
ครูควรทราบข้อจำกัดของเด็กแต่ละคน
-
ครูควรใส่ใจเด็กทุกคน
-
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
- ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
- ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
- ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
- ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น
แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
- ทำให้ครูทราบทฤษฎี
หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
- ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
- ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ
รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน
แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่าง
ๆ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.กลุ่มโครงสร้างจิต
(Structuralism) - วุ้นด์ (Wilhelm max Wundt)
- ทิชเชนเนอร์
(Titchener)
- เฟชเนอร์ ( Fechner)
- เฟชเนอร์ ( Fechner)
วุ้นด์ (Wilhelm max Wundt) เป็นคนแรกที่ตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาขึ้น
ที่เมือง ไลป์ซิก เป็นการเริ่มต้นการศึกษาจิตวิทยาตามวิธีการวิทยาศาสตร์
จึงได้ชื่อว่าบิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง Wundt เชื่อว่าจิตมนุษย์ประขึ้นด้วยลักษณะเป็นหน่วยย่อย
ๆ เรียกว่า จิตธาตุ (Mental element) 2 ส่วน คือ
1.
การสัมผัส
(Sensation)
2.
ความรู้สึก
(Feeling) ต่อมา
ทิชเชนเนอร์ (Titchener)ได้เพิ่มโครงสร้างจิตอีก 1 ส่วน คือ
3.
จิตนาการ
(Image)
กลุ่มโครงสร้างจิตจะวัดและบันทึกกระบวนการต่าง
ๆ โดยวิธีที่เรียกว่า Introspection (การสังเกตพฤติกรรมที่เกิดกับตนเอง
แล้วอธิบายเกี่ยวกับปฏิกิริยาของตนต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทางประสาทสัมผัส ศึกษาจิตสำนึก
(Consciousness)
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
จิตของคนแยกเป็นส่วน ๆ ทำให้เกิดแนวคิดว่า
ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ส่วนไหนมีความสามารถหรือทักษะด้านใด
ก็ฝึกส่วนนั้นมากเป็นพิเศษ เช่น ครูต้องการให้นักเรียนผู้นั้นมีความจำ
ก็ให้ผู้เรียนเรียนสิ่งที่ต้องอาศัยความจำ
2. กลุ่มหน้าที่จิต
(Functionalism)
- จอน์ ดิวอี้ (John Dewey)
- จอน์ ดิวอี้ (John Dewey)
- วิลเลียม เจมส์ (Williaam
James)
- วู้ดเวิร์ธ ( R.S.wOODWORTH)
- วู้ดเวิร์ธ ( R.S.wOODWORTH)
กลุ่มหน้าที่จิต
พยายามหาคำตอบว่าอะไรเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์มีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าสัตว์
และยังเน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์
จอน์ ดิวอี้ (John Dewey) มีความเชื่อว่า
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการกระทำ (Learning by doing) ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญในการปรับตัวของมนุษย์
วิลเลียม เจมส์ (Williaam James) สัญชาตญาณเป็นส่วนที่ทำให้เราปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
วู้ดเวิร์ธ ( R.S.wOODWORTH) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
วิธีการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์มากที่สุด
วิธีการเรียนการสอนแบบแก้ปัญหา
3. กลุ่มพฤติกรรมนิยม (
Behavior) - วัตสัน (John B.Watson)
- พาฟลอฟ (Ivan
P.Pavlov)
- ธอร์นไดค์ (Edward L.Thorndike)
- ฮัล (Clark L.Hull)
- โทลแมน (Edward C.Tolman)
- ธอร์นไดค์ (Edward L.Thorndike)
- ฮัล (Clark L.Hull)
- โทลแมน (Edward C.Tolman)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ศึกษาเฉพาะ
พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีสาเหตุ สาเหตุมาจากสิ่งเร้า (Stimulus) เมื่อมากระตุ้นอินทรีย์ จะมีพฤติกรรมแสดงออกมา
เรียกว่าการตอบสนอง(Respones)
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
เป็นแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมและการจัดสถาพการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน
4. กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
- ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
- แอดเลอร์ (Alfred
Adler)
- จุง (Carl G.Jung)
- จุง (Carl G.Jung)
ตามแนวคิดของ
ฟรอยด์ (Sigmund Freud) แบ่งลักษณะจิตเป็น
3 ส่วน
1.
จิตสำนึก
(Conscious) แสดงความรู้ตังตลอดเวลา
2.
จิตใต้สำนึก
(Subconscious) รู้ตัวตลอดเวลาแต่ไม่แสดงออกในขณะนั้น
3.
จิตไร้สำนึก
(Unconscious)
ฟรอยด์เน้นความสำคัญเรื่อง
จิตใต้สำนึก (Subconsious) ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
ตามแนวคิดของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง
และเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจต่าง ๆ
และการศึกษาเรื่องพัฒนาบุคลิกภาพกับโครงสร้างของบุคลิกภาพจิตของมนุษย์แยกเป็น 3
ลักษณะ
1.
(Id) ส่วนที่ยังไม่ได้ขัดเลา
แสวงหาความสุขความพอใจโดยถือตัวเองเป็นหลัก
2.
(Superego) ส่วนที่ได้มาจากการเรียนรู้เป็นส่วนที่คิดถึงผิดชอบชั่วดี
คิดถึงคนอื่นก่อนตัดสินใจอะไรลงไป
3.
(ego) ส่วนที่เป็นตัวตัดสินใจโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงในสภาพการณ์นั้น
ๆ ทำความประนีประนอมระหว่างส่วนที่ยึดความสุขส่วนตัว กับส่วนที่รู้จักผิดชอบชั่วดี
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
ใช้อธิบายเรื่องอิทธิพลของการพัฒนาในวัยเด็กที่มีผลต่อบุคลิกตอนโต
5. กลุ่มเกสตัลท์
(Gestalt Psychology)
- เวอร์ไธเมอร์ (Max
Wertheimer)
- คอฟกา (Kurt Kofga)
- เลอวิน (Kurt Lewin)
- โคเลอร์ (Wolfgang Kohler)
- คอฟกา (Kurt Kofga)
- เลอวิน (Kurt Lewin)
- โคเลอร์ (Wolfgang Kohler)
Gestalt นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าต้องศึกษาพฤติกรรมทางจิตเป็นส่วนรวมจะแยกศึกษาทีละส่วนไม่ได้
ถ้าจะให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ต้องมีประสบการณ์เดิม พฤติกรรมการเรียนรู้มี 2
ลักษณะ
1.
การรับรู้
(Perception) เป็นพื้นฐานให้เกิดการเรียนรู้
2.
การเรียนรู้เป็นการแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง
การแก้ปัญหาของคนเราขึ้นอยู่กับ การหยั่งเห็น (Insight)
เมื่อมีการการหยั่งเห็นเมื่อใดก็สามารถแก้ปัญหาได้เมื่อนั้น
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
ช่วยในเรื่องการรับรู้และการเรียนรู้ของคนและนำไปใช้ได้มากในการจัดการเรียนการสอน
6. กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism)
- คาร์ล โรเจอร์ (Carl R.Rogers)
- คาร์ล โรเจอร์ (Carl R.Rogers)
- มาสโลว์ (Abrahaham H. Maslow)
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory lening)
การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวรอันเป็นผลมาจากประสบการณ์
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจมี 3 ด้านดังนี้ (ตามหลัก Bloom)
พฤติกรรมด้านสมอง
(Cognitive Domain) ได้แก่
ความรู้ – จำ ความเข้าใจ
พฤติกรรมด้านจิตใจ
(Affective Domain) ได้แก่
อารมณ์ ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติ
พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท
วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้
๑. ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัย
(Characteristics) ของนักเรียนที่ครูต้องสอน
๒. ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน
๓. ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล
๔. ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัย
๕. ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่าง ๆ
๖. ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน
๗. ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้
๘. ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีกานที่มีประสิทธิภาพ
๙. ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดี
ไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาอย่างเดียว
๑๐. ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน
การจูงใจ
|
๑.
การจูงใจ คือขบวนการทางจิตใจที่ผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จ
และถูกต้องตามแนวทางที่ต้องการ
๒. การจูงใจ หมายถึงแรงซึ่งส่งเสริมให้เด็กทำงานจนบรรลุถึงความสำเร็จ
และแรงนี้ย่อมนำทางให้เด็กทำงานไปในแนวที่ถูกต้องด้วย
๓. การจูงใจ หมายถึงพฤติกรรมที่สนองความต้องการของมนุษย์
และเป็นพฤติกรรมที่นำไปสู่ จุดหมายปลายทาง
แม้ว่านักจิตวิทยาจะใช้คำอธิบายถึงความหมายของการจูงใจไว้ต่างๆ กัน
แต่ความหมาย
ก็คล้ายคลึงกัน โดยสรุปแล้ว การจูงใจหมายถึง "พลังแรงที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและควบคุมแนวทางของ พฤติกรรมด้วย"
คำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจูงใจ มีดังต่อไปนี้คือ
๑.
ความต้องการและแรงขับ (Needs and Drives) ความต้องการ (Needs) เกิดขึ้น เมื่อบุคคลมีอาการ
"ขาด" เช่น ขาดอาหาร
ขาดความปลอดภัย ขาดอากาศหายใจ ขาดผู้นับถือ เป็นต้น เมื่อเกิดการขาดก็มีแรงขับ
(Drives) เกิดขึ้น แรงขับคือสภาพที่อินทรีย์ได้รับการกระตุ้น
ทำให้เกิดการกระทำขึ้น
แรงขับทุกชนิดมีต้นกำเนิดมาจากกายภาพ
หรือแรงกระตุ้นภายใน เพื่อสนองความต้องการที่เกิดขึ้น แรงขับและความต้องการจึงมีความสัมพันธ์กันแทบจะกล่าวได้ว่า
เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันก็ได้
นักจิตวิทยาบางท่านจึงมักใช้สองคำนี้ในความหมายอันเดียวกัน
๒.
แรงขับ และแรงจูงใจ (Drives and Motives) "แรงขับ"
(Drive) หมายถึง
แรงกระตุ้นให้บุคคลมี พฤติกรรมเป็นแรงภายในตัวบุคคล ส่วน "แรงจูงใจ"
(Motive) คือ สภาพความพร้อมของอินทรีย์ในการปฏิบัติ กิจกรรมใดๆ
หรือเป็นสภาพที่อินทรีย์ถูกกระตุ้น เพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตั้งไว้
เช่นเมื่อเหนื่อยก็จะเกิดแรงขับให้พักผ่อน หรืออยากนอน เป็นต้น
แรงขับ
หรือแรงจูงใจ
แบ่งออกเป็น
๓ ประการดังนี้
๑.
แรงจูงใจทางร่างกาย (Physiological Motives) เกิดจากความต้องการทางร่างกาย มีความหิว ความกระหาย การขับถ่าย การพักผ่อน
ตลอดจนความต้องการทางเพศ
เด็กแรกเกิดมักจะมีพฤติกรรมที่เนื่องมาจากแรงจูงใจทางร่างกายเป็นส่วนใหญ่
๒. แรงจูงใจทางสังคม (Social
Motives) เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้
(Learning) เช่น ความต้องการชื่อเสียง
เกียรติยศ ทรัพย์สิน อำนาจ ความพึงพอใจ การพักผ่อนหย่อนใจ การแสวงหาความ สนุกสนาน
๓. แรงจูงใจส่วนบุคคล
(Personal Motives) เป็นแรงจูงใจที่พัฒนาขึ้นในตัวบุคคล ซึ่งแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันออกไป แรงจูงใจส่วนบุคคลนี้มีรากฐานมาจากความต้องการทางร่างกายและความต้องการทางสังคมประกอบกัน
เช่น จะออกมาในรูปของการสะสมต่างๆ เช่น
การสะสมแสตมป์
การสะสมที่ดิน
การออมทรัพย์ เป็นต้น
แรงจูงใจกับการเรียนการสอน
ในการเรียนการสอนนั้น สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่งก็คือ
ส่งเสริมให้เด็กเกิดมีแรงจูงใจขึ้น ถ้าสามารถทำได้ควรส่งเสริมให้เด็กเกิดแรงจูงใจภายใน
แต่แรงจูงใจภายในนั้นปลูกฝังได้ยาก ครูทั่วไปจึงมักใช้แรงจูงใจภายนอกเข้าช่วย
แรงจูงใจภายนอกที่ครูใช้อยู่เป็นประจำ มีดังนี้
๑.
รางวัล
การให้รางวัลมีหลายอย่าง เช่น ให้รางวัลเป็นของ
การให้เครื่องหมายอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความดี เช่น ให้ดาว หรือให้เกียรติบางอย่าง หรือให้สิทธิพิเศษบางอย่าง การให้รางวัลนี้ครูแทบทุกคนปฏิบัติกันอยู่
และเมื่อให้รางวัลไปแล้ว เด็กรู้สึกตื่นเต้นและเรียนดีขึ้น
แต่นักจิตวิทยาและนักการศึกษาบางท่านไม่เห็นด้วยกับการให้รางวัล โดยกล่าวว่า
การให้รางวัลนั้นมีทางทำให้เด็กเรียนเพื่อเอารางวัล มากกว่าเรียนเพื่อให้เกิดความรู้จริง
ๆ ถ้าครูให้รางวัลบ่อยเกินไป นอกจากนี้เมื่อเด็กได้รับรางวัลไปแล้ว
จะไม่ทำให้เด็กกระตือรือร้นอย่างเดิมอีก
ฉะนั้นในการให้รางวัล ครูไม่ควรให้บ่อยเกินไป
หรือเป็นของที่มีราคาแพงเกินไป และควรให้เด็กได้รับรางวัลทั่วถึงกันไม่ใช่จะให้อยู่เพียง
๒ - ๓ คนแรกเท่านั้น
๒. ความสำเร็จในการเรียน
การที่เด็กได้รับความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากการเรียน ก็เป็นแรงจูงใจให้เด็กเรียนดีขึ้นกว่าเดิม
อย่างไรก็ดีครูต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย นั่นคือ
ครูต้องจัดการสอนให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของเด็กทุกคน
เพื่อให้เด็กแต่ละคนได้รับความสำเร็จตามระดับของตน การสอนที่เราทำกันเป็นปกตินั้น
ได้แก่การสอนตามแบบกลางๆ ซึ่งไม่พยายามปรับบทเรียนให้เข้ากับเด็กทุกระดับ
ซึ่งอาจจะทำให้เด็กที่เรียนเก่ง เบื่อหน่าย เพราะเรื่องที่สอนนั้นง่ายเกินไป
คนปานกลางอาจสนุก ส่วนเด็กอ่อนอาจจะเรียนไม่ทัน เพราะครูสอนเร็วเกินไป
ความสำเร็จที่เด็กได้รับแม้จะเป็นความสำเร็จเล็กๆ
น้อยๆ ก็ตาม แต่ก็ย่อมทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น ในตนเอง
มีความภูมิใจในตนเองและมีกำลังใจที่จะเรียนมากขึ้น
๓. การยกย่องชมเชย
คำชมที่เหมาะกับโอกาสและเหมาะสมกับการกระทำของนักเรียนย่อมเป็นแรง
จูงใจให้แก่เด็กเป็นอย่างดี แต่ถ้าครูชมอย่างไม่จริงใจ และเด็กรู้กันทั่วไปว่า
คำชมเชยของครูไม่มีความหมายพิเศษเด็กจะไม่เอาใจใส่ต่อคำชมเชยนั้น
ครูไม่ควรใช้คำชมพร่ำเพรื่อ
สำหรับเด็กที่เรียนอ่อนนั้น แม้เรียนดีขึ้นเพียงเล็กน้อย เราก็ควรชมเชย
ส่วนเด็กเรียนเก่ง
จะชมก็ต่อเมื่อทำงานยากๆ ได้สำเร็จ คำชมของครูจึงจะมีค่าสำหรับเด็กทุกคน
ในแง่ของจิตวิทยามีผู้พบแล้วว่า
การชมเชยเด็กที่เก็บตัวมักได้ผลดีในการจูงใจกว่าการชมเด็กเปิดเผย
และการชมเด็กเก่งมากๆ มักได้ผลน้อยกว่าการชมเด็กอ่อน
๔. การตำหนิ
ถ้าครูใช้การตำหนิแต่เพียงเล็กน้อยไม่พร่ำเพรื่อเกินไปแล้ว การตำหนิก็มีผลในการ สร้างแรงจูงในในการเรียนได้มากเหมือนกัน
ในการตำหนินั้นครูต้องทำให้เหมาะสมกับความบกพร่อง และตำหนิให้เหมาะกับโอกาส ครูไม่ควรตำหนิเด็กโดยไม่มีหลักฐาน
และต้องให้เด็กรู้ว่าตนควรแก้ไขอย่างไร
การตำหนิก็เหมือนกับการชมเชย ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล
ถ้าครูตำหนิเด็กเรียนอ่อนมากๆ คำตำหนินั้นจะไม่มีผลในการสร้างแรงจูงใจ
ถ้าตำหนิเด็กเรียนเก่งให้ตรงกับข้อบกพร่องของเด็ก คำตำหนิของครูจะมีผลดีมาก
แต่เท่าที่เราปฏิบัติกันอยู่นั้นเรามักทำตรงข้ามกับคำกล่าวนี้
คือเราชอบตำหนิเด็กเรียนอ่อนและยกย่องเด็กเรียนเก่ง
เด็กเก็บตัวไม่ชอบให้ครูตี เด็กพวกนี้ยิ่งตียิ่งเสียหายหนักขึ้น
แทนที่จะมีผลในการสร้างแรงจูงใจ คำตำหนิของครู
อาจทำให้เด็กประเภทนี้หมดกำลังใจมากขึ้น ส่วนเด็กเปิดเผยไม่เป็นไร
๕. การแข่งขัน
การแข่งขันในการเรียน
ถ้าเป็นไปในทำนองเป็นมิตรก็เป็นการจูงใจในการเรียนที่ดี อย่างหนึ่ง
ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กแข่งขันหลาย ๆ ทาง การแข่งขัน นักจิตวิทยาแบ่งออกเป็น ๓
วิธีคือ
๑. แข่งขันระหว่างนักเรียนทั้งหมด
๒. แข่งขันระหว่าง หมู่ต่อหมู่
๓. แข่งขันกับตนเอง
๖. ความช่วยเหลือ
ความร่วมมือก็นับเป็นแรงจูงใจในการเรียนที่ดีอย่างหนึ่ง
ตามปกติเด็กย่อมมีความต้องการฐานะทางสังคม และความต้องการความรักอยู่แล้ว ความร่วมมือเป็นการสนับสนุนให้เด็กสนองความต้องการทั้งสองอย่างนี้ได้เป็นอย่างดี
๗. การรู้จักความก้าวหน้าของตน
ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับความสำเร็จ
แต่การที่เด็กจะทราบถึงความก้าวหน้าของคนนั้นต้องอาศัยการบอกกล่าวของครู ถ้าเด็กทราบความก้าวหน้าของตนอยู่เสมอ
เด็กจะมีกำลังใจที่จะเรียนมากขึ้น
๘. การรู้จักวัตถุประสงค์ของการเรียน
การทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
จะทำให้เด็กเข้าใจแนวการเรียนได้ดีขึ้น และจะทำให้เด็กมีแรงจูงใจมากขึ้น
วัตถุประสงค์ที่เด็กควรทราบมีทั้งจุดประสงค์ในระยะใกล้ และจุดประสงค์ในระยะไกล
จุดประสงค์ในระยะใกล้ได้แก่ประโยชน์ปัจจุบันของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ส่วนวัตถุประสงค์ในระยะไกลได้แก่การเรียนในอนาคตของเด็กเอง