วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555


จิตวิทยาการเรียนการสอน

 

ความหมาย 

 

      “จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก

 แนวทางในการศึกษา 

ศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลอง นำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียนค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษา ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียน 

 



 

จิตวิทยากับการเรียนการสอน 

 

      จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน

 

ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน 

 

      1.  ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์

      2.  หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย

           ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ

      3.  ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน

      4.  การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการ   

           แก้ปัญหาการเรียนการสอน  

 

 
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน 

 

ประการแรก         มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน 

ประการที่สอง      นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน

 

หลักการสำคัญ 

 

1.  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน

2.  มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน

3.  มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่

4.  มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน

 

 จิตวิทยาครู 

 

ครู  หมายถึง  ผู้สอน  มาจากภาษาบาลีว่าครุ

ภาษาสันสกฤตว่าคุรุแปลว่า หนัก  สูงใหญ่ 

  -  ครูต้องรับภารหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบ

  -  ครูต้องมีความหนักแน่น  สุขุม  ไม่วู่วาม  ทั้งความคิดและการกระทำ

 

 บทบาทและความสำคัญของครูในปัจจุบัน

 

ธีรศักดิ์ (2542) ได้กล่าวถึง 4 ประเด็น ดังนี้

-                   บทบาทและความสำคัญต่อเยาวชน

-                   บทบาทและความสำคัญของครูในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

-                   บทบาทและความสำคัญของครูในการรักษาชาติ

-                   บทบาทและความสำคัญของครูในเยียวยาสังคม

 

รูปแบบของครู (Models of Teachers) 

 

Fenstermacher และ Soltis (1992)ได้กล่าวถึงรูปแบบและบทบาทของครู เป็น 3 ประเภท 

1.  The Executive Model                 ทำหน้าที่คล้ายบริหาร

2.  The Therapist Model                มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างใกล้ชิด

3.  The  Liberationist  Model        ครูที่ให้อิสระผู้เรียนในการเรียนรู้

 

      Parsons and others (2001) กล่าวว่าครูควรมีหลายบทบาทตามความเหมาะสมของสภาพการณ์ มิใช่มีความรู้หรือเชี่ยวชาญเฉพาะเนื้อหา ดังนั้นครูอาจมีบทบาท ดังนี้ 

-                   รับผิดชอบการวางแผนการสอนและวัดผล

-                   มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนหรือให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

-                   ทำหน้าที่ผู้จัดการ  หรือบริหารห้องเรียนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้

-                   ให้คำปรึกษา  รับฟังความคิดเห็นแก่ผู้เรียน

 

บทบาทดังกล่าวนี้มีความสอดคล้องกับแนวคิดของWoolfok และ Nicalich (1980) ที่กล่าวไว้หลายประเด็นและมีคลอบคลุม  ดังนี้ 

 

-                   เป็นผู้ชำนาญการสอน  เป็นผู้ที่กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจ

-                   เป็นผู้จัดการ   เป็นผู้นำ

-                   เป็นผู้ให้คำปรึกษา  

-                   เป็นวิศวกรสังคม

-                   เป็นตัวแบบ

 

 หลักการที่สำคัญสำหรับครู 

 

          Mamchak and Mamchak  (1981)  ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างครูและนักเรียน

 

 

 การสร้างบรรยากาศในห้องเรียน 

 

-                   ไม่รื้อฟื้นปัญหาที่เคยเกิดขึ้น 

-                   ให้ความยุติธรรมแก่เด็ก อย่างเท่าเทียมกัน

-                   ตั้งเป้าหมายที่นักเรียนสามารถทำได้ 

-                   ครูควรบอกถึงข้อจำกัดของตน 

-                   ครูควรทราบข้อจำกัดของเด็กแต่ละคน 

-                   ครูควรใส่ใจเด็กทุกคน  

-                   

ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน 

 

ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน

ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน

ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล

ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ

 

ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน 

 

ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน

ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม

ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน



แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1.กลุ่มโครงสร้างจิต (Structuralism) - วุ้นด์ (Wilhelm max Wundt)

- ทิชเชนเนอร์ (Titchener)
- เฟชเนอร์ ( Fechner)

วุ้นด์ (Wilhelm max Wundt) เป็นคนแรกที่ตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาขึ้น ที่เมือง ไลป์ซิก เป็นการเริ่มต้นการศึกษาจิตวิทยาตามวิธีการวิทยาศาสตร์ จึงได้ชื่อว่าบิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง Wundt เชื่อว่าจิตมนุษย์ประขึ้นด้วยลักษณะเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า จิตธาตุ (Mental element) 2 ส่วน คือ

1.             การสัมผัส (Sensation)

2.             ความรู้สึก (Feeling) ต่อมา ทิชเชนเนอร์ (Titchener)ได้เพิ่มโครงสร้างจิตอีก 1 ส่วน คือ

3.             จิตนาการ (Image)

กลุ่มโครงสร้างจิตจะวัดและบันทึกกระบวนการต่าง ๆ โดยวิธีที่เรียกว่า Introspection (การสังเกตพฤติกรรมที่เกิดกับตนเอง แล้วอธิบายเกี่ยวกับปฏิกิริยาของตนต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทางประสาทสัมผัส ศึกษาจิตสำนึก (Consciousness)

แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา จิตของคนแยกเป็นส่วน ๆ ทำให้เกิดแนวคิดว่า ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ส่วนไหนมีความสามารถหรือทักษะด้านใด ก็ฝึกส่วนนั้นมากเป็นพิเศษ เช่น ครูต้องการให้นักเรียนผู้นั้นมีความจำ ก็ให้ผู้เรียนเรียนสิ่งที่ต้องอาศัยความจำ

2. กลุ่มหน้าที่จิต (Functionalism)
- จอน์ ดิวอี้ (John Dewey)

- วิลเลียม เจมส์ (Williaam James)
- วู้ดเวิร์ธ ( R.S.wOODWORTH)

กลุ่มหน้าที่จิต พยายามหาคำตอบว่าอะไรเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์มีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าสัตว์ และยังเน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์

จอน์ ดิวอี้ (John Dewey) มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการกระทำ (Learning by doing) ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญในการปรับตัวของมนุษย์

วิลเลียม เจมส์ (Williaam James) สัญชาตญาณเป็นส่วนที่ทำให้เราปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม

วู้ดเวิร์ธ ( R.S.wOODWORTH) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง

แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา วิธีการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์มากที่สุด วิธีการเรียนการสอนแบบแก้ปัญหา

3. กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behavior) - วัตสัน (John B.Watson)

- พาฟลอฟ (Ivan P.Pavlov)
- ธอร์นไดค์ (Edward L.Thorndike)
- ฮัล (Clark L.Hull)
- โทลแมน (Edward C.Tolman)

นักจิตวิทยากลุ่มนี้ศึกษาเฉพาะ พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีสาเหตุ สาเหตุมาจากสิ่งเร้า (Stimulus) เมื่อมากระตุ้นอินทรีย์ จะมีพฤติกรรมแสดงออกมา เรียกว่าการตอบสนอง(Respones)

แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา เป็นแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมและการจัดสถาพการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน

4. กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) - ฟรอยด์ (Sigmund Freud)

- แอดเลอร์ (Alfred Adler)
- จุง (Carl G.Jung)

ตามแนวคิดของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) แบ่งลักษณะจิตเป็น 3 ส่วน

1.             จิตสำนึก (Conscious) แสดงความรู้ตังตลอดเวลา

2.             จิตใต้สำนึก (Subconscious) รู้ตัวตลอดเวลาแต่ไม่แสดงออกในขณะนั้น

3.             จิตไร้สำนึก (Unconscious)

ฟรอยด์เน้นความสำคัญเรื่อง จิตใต้สำนึก (Subconsious) ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ตามแนวคิดของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจต่าง ๆ และการศึกษาเรื่องพัฒนาบุคลิกภาพกับโครงสร้างของบุคลิกภาพจิตของมนุษย์แยกเป็น 3 ลักษณะ

1.             (Id) ส่วนที่ยังไม่ได้ขัดเลา แสวงหาความสุขความพอใจโดยถือตัวเองเป็นหลัก

2.             (Superego) ส่วนที่ได้มาจากการเรียนรู้เป็นส่วนที่คิดถึงผิดชอบชั่วดี คิดถึงคนอื่นก่อนตัดสินใจอะไรลงไป

3.             (ego) ส่วนที่เป็นตัวตัดสินใจโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงในสภาพการณ์นั้น ๆ ทำความประนีประนอมระหว่างส่วนที่ยึดความสุขส่วนตัว กับส่วนที่รู้จักผิดชอบชั่วดี

 

แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา ใช้อธิบายเรื่องอิทธิพลของการพัฒนาในวัยเด็กที่มีผลต่อบุคลิกตอนโต

5. กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)

- เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer)
- คอฟกา (Kurt Kofga)
- เลอวิน (Kurt Lewin)
- โคเลอร์ (Wolfgang Kohler)

Gestalt นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าต้องศึกษาพฤติกรรมทางจิตเป็นส่วนรวมจะแยกศึกษาทีละส่วนไม่ได้ ถ้าจะให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ต้องมีประสบการณ์เดิม พฤติกรรมการเรียนรู้มี 2 ลักษณะ

1.             การรับรู้ (Perception) เป็นพื้นฐานให้เกิดการเรียนรู้

2.             การเรียนรู้เป็นการแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง การแก้ปัญหาของคนเราขึ้นอยู่กับ การหยั่งเห็น (Insight) เมื่อมีการการหยั่งเห็นเมื่อใดก็สามารถแก้ปัญหาได้เมื่อนั้น

แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา ช่วยในเรื่องการรับรู้และการเรียนรู้ของคนและนำไปใช้ได้มากในการจัดการเรียนการสอน

6. กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism)
- คาร์ล โรเจอร์ (Carl R.Rogers)

- มาสโลว์ (Abrahaham H. Maslow)

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory lening)

การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวรอันเป็นผลมาจากประสบการณ์

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจมี 3 ด้านดังนี้ (ตามหลัก Bloom)

                        พฤติกรรมด้านสมอง (Cognitive Domain) ได้แก่ ความรู้ จำ ความเข้าใจ

                        พฤติกรรมด้านจิตใจ (Affective Domain) ได้แก่ อารมณ์ ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติ

                        พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท


                         
ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครู

วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้
.  ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัย (Characteristics) ของนักเรียนที่ครูต้องสอน
.  ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน
.  ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล
.  ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัย
.  ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่าง ๆ
                        .  ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน
.  ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้
.  ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีกานที่มีประสิทธิภาพ
.  ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดี ไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาอย่างเดียว
๑๐.  ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน



การจูงใจ


 
   การจูงใจ (Motivation)   คืออะไร มีผู้ให้คำจำกัดความของการจูงใจไว้ดังนี้
.  การจูงใจ  คือขบวนการทางจิตใจที่ผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจนสำเร็จ และถูกต้องตามแนวทางที่ต้องการ
.  การจูงใจ  หมายถึงแรงซึ่งส่งเสริมให้เด็กทำงานจนบรรลุถึงความสำเร็จ และแรงนี้ย่อมนำทางให้เด็กทำงานไปในแนวที่ถูกต้องด้วย
.  การจูงใจ  หมายถึงพฤติกรรมที่สนองความต้องการของมนุษย์ และเป็นพฤติกรรมที่นำไปสู่        จุดหมายปลายทาง
แม้ว่านักจิตวิทยาจะใช้คำอธิบายถึงความหมายของการจูงใจไว้ต่างๆ กัน แต่ความหมาย
ก็คล้ายคลึงกัน โดยสรุปแล้ว การจูงใจหมายถึง "พลังแรงที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและควบคุมแนวทางของ     พฤติกรรมด้วย"
 
คำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจูงใจ มีดังต่อไปนี้คือ
.  ความต้องการและแรงขับ (Needs and Drives)  ความต้องการ (Needs) เกิดขึ้น เมื่อบุคคลมีอาการ  "ขาด" เช่น ขาดอาหาร ขาดความปลอดภัย ขาดอากาศหายใจ ขาดผู้นับถือ เป็นต้น เมื่อเกิดการขาดก็มีแรงขับ (Drives) เกิดขึ้น แรงขับคือสภาพที่อินทรีย์ได้รับการกระตุ้น ทำให้เกิดการกระทำขึ้น  
แรงขับทุกชนิดมีต้นกำเนิดมาจากกายภาพ หรือแรงกระตุ้นภายใน เพื่อสนองความต้องการที่เกิดขึ้น    แรงขับและความต้องการจึงมีความสัมพันธ์กันแทบจะกล่าวได้ว่า เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันก็ได้ นักจิตวิทยาบางท่านจึงมักใช้สองคำนี้ในความหมายอันเดียวกัน
.  แรงขับ และแรงจูงใจ (Drives and Motives)  "แรงขับ" (Drive)  หมายถึง แรงกระตุ้นให้บุคคลมี   พฤติกรรมเป็นแรงภายในตัวบุคคล ส่วน "แรงจูงใจ" (Motive) คือ สภาพความพร้อมของอินทรีย์ในการปฏิบัติ     กิจกรรมใดๆ หรือเป็นสภาพที่อินทรีย์ถูกกระตุ้น เพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตั้งไว้ เช่นเมื่อเหนื่อยก็จะเกิดแรงขับให้พักผ่อน หรืออยากนอน เป็นต้น
 
แรงขับ  หรือแรงจูงใจ  แบ่งออกเป็น ๓ ประการดังนี้
.  แรงจูงใจทางร่างกาย (Physiological Motives) เกิดจากความต้องการทางร่างกาย มีความหิว ความกระหาย การขับถ่าย การพักผ่อน ตลอดจนความต้องการทางเพศ เด็กแรกเกิดมักจะมีพฤติกรรมที่เนื่องมาจากแรงจูงใจทางร่างกายเป็นส่วนใหญ่
.  แรงจูงใจทางสังคม (Social Motives)  เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากการเรียนรู้ (Learning)  เช่น      ความต้องการชื่อเสียง เกียรติยศ ทรัพย์สิน อำนาจ ความพึงพอใจ การพักผ่อนหย่อนใจ การแสวงหาความ สนุกสนาน
.  แรงจูงใจส่วนบุคคล (Personal Motives)  เป็นแรงจูงใจที่พัฒนาขึ้นในตัวบุคคล  ซึ่งแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันออกไป   แรงจูงใจส่วนบุคคลนี้มีรากฐานมาจากความต้องการทางร่างกายและความต้องการทางสังคมประกอบกัน เช่น จะออกมาในรูปของการสะสมต่างๆ เช่น  การสะสมแสตมป์  การสะสมที่ดิน      การออมทรัพย์ เป็นต้น
 

แรงจูงใจกับการเรียนการสอน 
ในการเรียนการสอนนั้น สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่งก็คือ ส่งเสริมให้เด็กเกิดมีแรงจูงใจขึ้น   ถ้าสามารถทำได้ควรส่งเสริมให้เด็กเกิดแรงจูงใจภายใน แต่แรงจูงใจภายในนั้นปลูกฝังได้ยาก ครูทั่วไปจึงมักใช้แรงจูงใจภายนอกเข้าช่วย แรงจูงใจภายนอกที่ครูใช้อยู่เป็นประจำ มีดังนี้
 
.  รางวัล
 การให้รางวัลมีหลายอย่าง  เช่น ให้รางวัลเป็นของ การให้เครื่องหมายอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความดี เช่น ให้ดาว หรือให้เกียรติบางอย่าง หรือให้สิทธิพิเศษบางอย่าง   การให้รางวัลนี้ครูแทบทุกคนปฏิบัติกันอยู่ และเมื่อให้รางวัลไปแล้ว เด็กรู้สึกตื่นเต้นและเรียนดีขึ้น แต่นักจิตวิทยาและนักการศึกษาบางท่านไม่เห็นด้วยกับการให้รางวัล โดยกล่าวว่า การให้รางวัลนั้นมีทางทำให้เด็กเรียนเพื่อเอารางวัล มากกว่าเรียนเพื่อให้เกิดความรู้จริง ๆ ถ้าครูให้รางวัลบ่อยเกินไป นอกจากนี้เมื่อเด็กได้รับรางวัลไปแล้ว จะไม่ทำให้เด็กกระตือรือร้นอย่างเดิมอีก
                        ฉะนั้นในการให้รางวัล ครูไม่ควรให้บ่อยเกินไป หรือเป็นของที่มีราคาแพงเกินไป และควรให้เด็กได้รับรางวัลทั่วถึงกันไม่ใช่จะให้อยู่เพียง ๒ - ๓ คนแรกเท่านั้น
                          .  ความสำเร็จในการเรียน
                         การที่เด็กได้รับความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นจากการเรียน  ก็เป็นแรงจูงใจให้เด็กเรียนดีขึ้นกว่าเดิม 
                          อย่างไรก็ดีครูต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย นั่นคือ ครูต้องจัดการสอนให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของเด็กทุกคน เพื่อให้เด็กแต่ละคนได้รับความสำเร็จตามระดับของตน การสอนที่เราทำกันเป็นปกตินั้น ได้แก่การสอนตามแบบกลางๆ ซึ่งไม่พยายามปรับบทเรียนให้เข้ากับเด็กทุกระดับ ซึ่งอาจจะทำให้เด็กที่เรียนเก่ง เบื่อหน่าย เพราะเรื่องที่สอนนั้นง่ายเกินไป คนปานกลางอาจสนุก ส่วนเด็กอ่อนอาจจะเรียนไม่ทัน เพราะครูสอนเร็วเกินไป
                          ความสำเร็จที่เด็กได้รับแม้จะเป็นความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม   แต่ก็ย่อมทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น  ในตนเอง มีความภูมิใจในตนเองและมีกำลังใจที่จะเรียนมากขึ้น
                        .  การยกย่องชมเชย
                         คำชมที่เหมาะกับโอกาสและเหมาะสมกับการกระทำของนักเรียนย่อมเป็นแรง จูงใจให้แก่เด็กเป็นอย่างดี แต่ถ้าครูชมอย่างไม่จริงใจ และเด็กรู้กันทั่วไปว่า คำชมเชยของครูไม่มีความหมายพิเศษเด็กจะไม่เอาใจใส่ต่อคำชมเชยนั้น ครูไม่ควรใช้คำชมพร่ำเพรื่อ
                        สำหรับเด็กที่เรียนอ่อนนั้น แม้เรียนดีขึ้นเพียงเล็กน้อย เราก็ควรชมเชย ส่วนเด็กเรียนเก่ง
                        จะชมก็ต่อเมื่อทำงานยากๆ ได้สำเร็จ คำชมของครูจึงจะมีค่าสำหรับเด็กทุกคน
                        ในแง่ของจิตวิทยามีผู้พบแล้วว่า การชมเชยเด็กที่เก็บตัวมักได้ผลดีในการจูงใจกว่าการชมเด็กเปิดเผย และการชมเด็กเก่งมากๆ มักได้ผลน้อยกว่าการชมเด็กอ่อน
                        .  การตำหนิ 
                        ถ้าครูใช้การตำหนิแต่เพียงเล็กน้อยไม่พร่ำเพรื่อเกินไปแล้ว  การตำหนิก็มีผลในการ สร้างแรงจูงในในการเรียนได้มากเหมือนกัน ในการตำหนินั้นครูต้องทำให้เหมาะสมกับความบกพร่อง และตำหนิให้เหมาะกับโอกาส ครูไม่ควรตำหนิเด็กโดยไม่มีหลักฐาน และต้องให้เด็กรู้ว่าตนควรแก้ไขอย่างไร
                        การตำหนิก็เหมือนกับการชมเชย ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล ถ้าครูตำหนิเด็กเรียนอ่อนมากๆ  คำตำหนินั้นจะไม่มีผลในการสร้างแรงจูงใจ ถ้าตำหนิเด็กเรียนเก่งให้ตรงกับข้อบกพร่องของเด็ก คำตำหนิของครูจะมีผลดีมาก แต่เท่าที่เราปฏิบัติกันอยู่นั้นเรามักทำตรงข้ามกับคำกล่าวนี้ คือเราชอบตำหนิเด็กเรียนอ่อนและยกย่องเด็กเรียนเก่ง
                        เด็กเก็บตัวไม่ชอบให้ครูตี เด็กพวกนี้ยิ่งตียิ่งเสียหายหนักขึ้น แทนที่จะมีผลในการสร้างแรงจูงใจ          คำตำหนิของครู อาจทำให้เด็กประเภทนี้หมดกำลังใจมากขึ้น ส่วนเด็กเปิดเผยไม่เป็นไร
                        .  การแข่งขัน
                         การแข่งขันในการเรียน ถ้าเป็นไปในทำนองเป็นมิตรก็เป็นการจูงใจในการเรียนที่ดี อย่างหนึ่ง ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กแข่งขันหลาย ๆ ทาง การแข่งขัน นักจิตวิทยาแบ่งออกเป็น ๓ วิธีคือ
                                                          .  แข่งขันระหว่างนักเรียนทั้งหมด
                                                          .  แข่งขันระหว่าง หมู่ต่อหมู่
                                                          .  แข่งขันกับตนเอง
                   .  ความช่วยเหลือ
                          ความร่วมมือก็นับเป็นแรงจูงใจในการเรียนที่ดีอย่างหนึ่ง ตามปกติเด็กย่อมมีความต้องการฐานะทางสังคม และความต้องการความรักอยู่แล้ว ความร่วมมือเป็นการสนับสนุนให้เด็กสนองความต้องการทั้งสองอย่างนี้ได้เป็นอย่างดี
                        .  การรู้จักความก้าวหน้าของตน
                         ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับความสำเร็จ แต่การที่เด็กจะทราบถึงความก้าวหน้าของคนนั้นต้องอาศัยการบอกกล่าวของครู  ถ้าเด็กทราบความก้าวหน้าของตนอยู่เสมอ เด็กจะมีกำลังใจที่จะเรียนมากขึ้น
                        .  การรู้จักวัตถุประสงค์ของการเรียน
 การทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะทำให้เด็กเข้าใจแนวการเรียนได้ดีขึ้น และจะทำให้เด็กมีแรงจูงใจมากขึ้น วัตถุประสงค์ที่เด็กควรทราบมีทั้งจุดประสงค์ในระยะใกล้ และจุดประสงค์ในระยะไกล จุดประสงค์ในระยะใกล้ได้แก่ประโยชน์ปัจจุบันของการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่วนวัตถุประสงค์ในระยะไกลได้แก่การเรียนในอนาคตของเด็กเอง